บ่อยครั้งทีเดียวที่นักวิชาการด้านโสตทัศนศึกษา พยายามที่จะดิสเครดิตผมในเรื่องความรู้ด้านโสตทัศนศึกษา บางคนพอรู้ว่าใครเก่งด้านนี้ ก็จะไปเรียกให้มาข่มผม มันเป็นอย่างนี้อยู่เรื่อยๆ จนผมรู้สึกตัวและพยายามหาเหตุผล ว่าทำไมพวกเขาถึงรู้สึกอย่างนี้ ผมคิดว่าพวกนักวิชาการคงแค้นใจกับผม เพราะบางครั้งสิ่งที่ผมพูดไปหรือไปบรรยายกับนักเรียนนักศึกษา อาจจะไปฉีกหน้าพวกเขา หรือกระทบจิตใจพวกเขาในเรื่องของเกียรติภูมิ เลยถูกจ้องเอาคืน
ยกตัวอย่างเมื่อผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายให้กับนักเรียนนักศึกษา แล้วมีคนถามว่า “อาจารย์ค่ะ เขาไม่ทำด้วยวิธีอย่างนี้หรือ” แล้วเขาก็อธิบาถึงวิธีที่เขาถาม แล้วผมตอบไปว่าถ้าทำแบบนั้นมันผิดอย่างนั้นอย่างนี้ การที่นักเรียนนักศึกษาถามผมแบบนั้น อาจารย์ของพวกเขาคงสอนมาแบบนั้น แล้วผมไปบอกว่าผิด ก็ทำให้พวกอาจารย์เสียหน้าจึงต้องเอาคืนกับผม
ผมก็ได้แต่เก็บความรู้สึกที่ขมขื่น จนบางครั้งพอผมทนไม่ไหว ผมก็จะแกล้งถามอะไรที่ผมคิดว่าพวกนักวิชาการคงไม่เคยได้ยินมาก่อน อย่างเช่น ผมจะบอกว่าคำว่า Intelligibility และคำว่า legibility เป็น fundamental ของวิชาโสตทัศน์ศึกษา แล้วผมก็คอยดูว่าจะมีใครแสดงความเห็นถึง 2 เรื่องนี้บ้าง แต่ไม่เคยเลยที่จะมีใครโต้ผมกลับ ส่วนใหญ่จะเลี่ยงไปพูดเรื่องอื่นทันที เพียงแค่นี้ผมก็พอใจแล้ว เพราะนั้นหมายความว่าพวกเหล่านักวิชาการไม่เคยได้ยิน 2 คำนี้มาก่อน จึงไม่กล้าที่จะมาโต้กับผม และพวกเขาคงหน้าบางเกินกว่าที่จะมาถามผมว่าทั้ง 2 คำนี้คืออะไร แปลว่าอะไร แค่นี้ก็ทำให้ผมรู้สึกสุขใจแล้วที่ได้เอาคืนบ้าง แต่การที่พวกนักวิชาการไม่ถามผมเพราะกลัวเสียหน้านั้น ก็ทำให้พวกเขาต้องโง่ต่อไป
คำว่า Intelligibility นั้นผมไม่ได้เปิดดิกชั้นนารีดู ตามความเข้าใจของผมก็น่าจะแปลว่า ความง่ายที่จะฟังรู้เรื่อง ส่วนคำว่า legibility นั้นน่าจะแปลว่า ความง่ายที่การอ่าน ส่วนที่ผมบอกว่าทั้ง 2 คำนี้เป็น ฟอนติแนนทอน ของวิชาโสตทัศน์ศึกษา ก็เพื่อเอามาใช้ถามนักวิชาการโสตทัศน์เท่านั้นเอง
ในบทความนี้ผมจะพูดเฉพาะคำว่า legibility เพียงอย่างเดียวก่อน ส่วนคำว่า Intelligibility นั้นผมจะเขียนในโอกาศต่อไป
คำว่า legibility ที่ผมแปลว่า ความง่ายที่จะอ่าน มันต่างจากคำว่า literacy ที่แปลว่า อ่านออกเขียนได้หรือการรู้หนังสือ เพราะคำว่า legibility ใช้กับคนที่อ่านออกเขียนได้อยู่แล้ว แต่เวลาเขียนนั้นมีความยากง่ายที่จะอ่าน อย่างเช่น ข้อเสียของการที่ไม่ใช่ legibility
- ตัวอักษรเล็กเกินไปที่จะอ่านได้อย่างสบายตา
- การเขียนลายมือที่หวัดมากจนอ่านแทบจะไม่ได้ หรือไม่ได้เลย
- การเว้นช่องไฟที่ห่างมากเกินไป
- การเล่นสีตัวหนังสือทุกๆตัวอักษรที่เปลี่ยนสีไปเรื่อยๆ
- การเขียนหนังสือ ที่ถ้าเป็นภาษาอังกฤษเขาเรียกว่าตัวตลก ส่วนภาษาไทยก็จะเป็นคำกลอนที่ปลายของตัวอักษรจะเป็นเส้นยาวมากๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามแต่อ่านได้ยาก
- ความเปรียบต่างของสีตัวอักษรกับสีพื้น
- เขียนบนกระดาษที่สกปรกมากๆ
- อ่านไม่ทัน
ทั้งหมดข้างบนนี้เป็นเพียงบางส่วนของปัญหาด้าน legibility ที่นักโสตทัศนศึกษาต้องพึงระวัง และผมขออธิบายจากหัวข้อทั้ง 8 หัวข้อดังนี้
ตัวอักษรเล็กเกินไปที่จะอ่านได้อย่างสบายตา
ปัญหานี้พบได้เป็นประจำของสื่อโสตทัศน์ที่คนที่นั่งอยู่ใกล้จอสามารถอ่านตัวหนังสือได้อย่างสบายตา แต่คนที่นั่งอยู่หลังห้องสุด อ่านแทบไม่ได้หรืออ่านไม่ได้เลย ดังนั้นบริษัท Eastman Kodak ที่เป็นผู้ผลิตเครื่องฉายสไดล์ยี่ห้อ Kodak ในระดับ A / V ที่มีคนใช้มากที่สุด เขาจึงตั้งกฎขึ้นมาในชื่อว่า Rule of Sixth เพื่อช่วยให้ตัวอักษรที่ฉายขึ้นจอฯ สามารถอ่านได้ทั้งห้อง ไม่ว่าจะนั่งอยู่หน้าห้องหรือหลังห้อง โดยเขาจะตั้งกฎขึ้นมาตั้งแต่การทำ Art work ที่มีตัวอักษรว่าควรมีขนาดใหญ่เท่าใด เพื่อใช้ในการถ่ายทำสไลด์ ซึ่งเรื่องนี้ผมเคยเขียนมาแล้วที่เว็บไซต์ของ virasupplies แล้วยังโดนคนที่ได้ชื่อว่าเชียวชาญด้านระบบโสนตทัศนูปกรณ์ที่สุดของประเทศไทย มาบอกว่าของผมผิดหมด แต่ผมว่าท่านผู้นั้นไม่รู้จริงๆว่ากฎ Rule of Sixth มีไว้เพื่ออะไร บทความของเขาในเรื่อง Rule of Sixth จึงไปคนละทิศคนละทางและก็ยังมีบรรณาธิการ ในนิตยสารในเรื่องภาพท่านหนึ่งไปออกงานเสวณา แล้วบอกว่าผู้ชมต้องนั่งให้ไกลจากจอภาพไม่น้อยกว่า 6 เท่าของความสูงของจอ มิฉะนั้นจะมองเห็นแก๊บระหว่างพิกเซล (บทความจากต่างประเทศเขาเรียกว่า Screen Door ซึ่งก็คือประตูมุ้งลวดที่ใช้กันแมลงในตอนกลางคืน) แต่การอธิบายเขาไม่น่าจะใช้ได้ เพราภาพมีความละเอียดสูงขึ้นเท่าไหร่ Screen Door นี้ก็ยิ่งมองเห็นได้ยาก
สำหรับผม ผมไม่ชอบ Rule of Sixth เท่าไหร่นัก เนื่องจากเขามีข้อกำเนิดไว้ว่าแถวหลังสุดของผู้ชม ต้องไม่ไกลจากจอเกิน 6 เท่าของความสูงของจอ แล้วเขาก็กำเนิดขนาดของ Art work ว่าจะต้องมีขนาดเท่านั้นเท่านี้ และตัวอักษรที่เป็นภาษาอังกฤษก็ต้องมีขนาดกี่พ้อย แต่ถ้าห้องเรียนของเราไม่ได้ตามมาตณฐานของบริษัทโกดักกำเนิด กฎ Rule of Sixth ก็ใช้ไม่ได้
เมื่อมีการใช้ความพิวเตอร์ แล้วมี work processor พอผมเห็นปรับผมก็รู้ได้ทันทีว่าผมสามารถแก้ปัญหาเรื่องขนาดตัวอักษรที่จะฉายขึ้นจอ โดยใช้หลักอัตราส่วนในทำนองเดียวกับโกดัก แต่เป็นอัตราส่วนอะไรก็ได้
วิธีการของผมก็คือ ถ้าเราจะไปฉายตัวอักษรขึ้นจอในห้องๆหนึ่ง ซึ่งสมมุติว่าแถวหลังสุดห่างจากจอเป็น 8 เท่าเป็นความสูงของจอ ก็ให้เราเริ่มพิมพ์ตัวอักษรนั้น แล้วมายืนให้ห่างจากจอมอนิเตอร์เป็น 8 เท่าของความสูงของจอมอนิเตอร์ ถ้าตัวอักษรเล็กจนอ่านไม่สะดวก ก็ให้เปลี่ยนขนาดของตัวอักษรจนรู้สึกพอใจ ซึ่งแค่นี้ก็จบ
ผมเคยให้พนักงานทำ Power point แล้วเขาพิมพ์ตัวเล็กนิดเดียว พอผมบอกว่าตัวมันเล็กเกินไป เขาก็บอกเขาอ่านได้ ผมจึงบอกว่าเขานั่งห่างจากจอเพียง 2X ของความสูงของจอ ลองให้เขาถอยมาให้ห่างจากจอ เท่ากับ 6 เท่าของความสูงของจอแล้วลองอ่านดูว่าอ่านได้หรือไม่ แต่พอผมพูดแบบนี้แล้วเขามาลองดู เขาก็เข้าใจ เพราะการใช้อัตราส่วนแบบนี้ เขาใช้กับห้องที่มีที่นั่งแถวหลังห่างจากจอจะกี่เท่าของความสูงของจอภาพฉายก็ได้หมด
การเขียนลายมือที่หวัดมากจนอ่านแทบจะไม่ได้ หรือไม่ได้เลย
คนเคยพูดว่าลายมือของหมอหวัดมากอ่านไม่ได้ ทำให้มีการจ่ายยาผิดบ่อย หรือเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรก็มีลายมือที่หวัดมากๆ พวกนี้ก็เป็นปัญหาในด้านความง่ายในการอ่าน (รูปตัวอย่างที่ผมใช้ประกอบในหัวข้อนี้ ผมเอามาจากการบรรยายของคณะบดีคณะเทคโนโลยีนิเทศศาสตร์ ซึ่งอ่านเป็นผู้ก่อตั้งคณะนี้ ถ้าใครอยากรู้เรื่องนี้เพิ่มเติมก็ลองส่ง email มาหาผม sungsidh@gmail.com )
การเว้นช่องไฟที่ห่างมากเกินไป
ก็ให้ดูตัวอย่างที่แสดงว่ามันทำให้อ่านไม่ค่อยสะดวกนัก
การเล่นสีตัวหนังสือทุกๆตัวอักษรที่เปลี่ยนสีไปเรื่อยๆ
เวลาคนอ่านมัวแต่ดูสี จนแทบจะไม่ได้อ่านเป็นคำ
การเขียนหนังสือ ที่ถ้าเป็นภาษาอังกฤษเขาเรียกว่าตัวตลก ส่วนภาษาไทยก็จำพวกที่ปลายเส้นจะยาวมากๆ
ดูตัวอย่างที่แสดงมา
ความเปรียบต่างของสีตัวอักษรกับสีพื้น
เรื่องนี้เห็นอยู่หลายครั้งเหมือนกัน แม้กระทั่งอาจารย์ก็ยังเป็น ลองดูตัวอย่างสีว่ามันอ่านยากแค่ไหน ถ้าตัวอักษรสีขาวบนพื้นเหลือง หรือตัวอักษรพื้นเงินบนสีดำ หรือตัวอักษรสีเทาอ่อนบนพื้นขาว เหตุที่เราพิมพ์ตัวหนังสือสีดำบนพื้นขาว เพราะมันมีค่าเปรียบต่างสูงสุดจึงทำให้อ่านได้ง่าย
เขียนบนกระดาษที่สกปรกมากๆ
ดูตัวอย่างที่ผมโชว์มา
|
อ่านไม่ทัน
อันนี้จะเห็นได้จากป้ายโฆษณาริมทาง ที่เขาเขียนเป็นตัวเล็กๆยาวเหยียดอ่านยังไม่ทันจะจบรถก็วิ่งเลยไปแล้ว บางรายยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ เช่นเขาจะขายบ้านจัดสรรสไตล์โรมัน เขาก็จะทำตัวอักษรภาษาไทยให้คล้ายกับอักษรโรมัน หรือบ้านสไตล์จีนก็ทำตัวอักษรให้คล้ายกับลำไผ่
สมัยที่ลูกผมยังเรียนมัธยมที่โรงเรียนลาดวินิจบางแก้ว ถ้าวันไหนขาตื่นสายผมก็ต้องขับรถไปส่งเขาที่โรงเรียน วันหนึ่งหลังจากส่งเขาเข้าโรงเรียนแล้ว แล้วขับรถมาจวนๆจะถึงทางขึ้นทางด่วนที่ 4 แยกบางนาตราด สุขุมวิท ผมเห็น Bill Board ซึ่งเมื่อเห็นแล้วรู้สึกน่าสนใจจึงขอร้องให้ภรรยาของผมช่วยอ่านให้หน่อย เพราะมันน่าสนใจ ภรรยาของผมก็หันไปดูแล้วหันกลับมานั่งเฉยไม่พูดอะไร ทำเอาผมฉุนเล็กน้อยแล้วต่อว่า ว่าแค่ขอให้ช่วยอ่านให้หน่อยไม่ได้หรือ ผมขับรถอยู่ไม่สามารถหันไปอ่านได้ ภรรยาผมก็พรึมพลำออกมาว่า เขาไม่ได้ทำมาให้เราอ่าน ผมเลยรู้สึกฉุนขึ้นมา และต้องหันไปมองเองแต่ผลก็ตรงกับที่ภรรยาของผมพูด คือตัวอักษรมันเล็กเกินไปที่จะอ่าน และเห็นประโยคที่ยาวมากๆ อ่านยังไงก็ไม่ทัน
และที่คล้ายๆกันนี้ก็ยังมีคำแปลภาษาไทย ที่เขียนด้านล่างของจอภาพยนตร์ หรือที่เขาเรียกว่า Sup Title ซึ่งผมเชื่อว่าหลายคนคงประสบปัญหานี้ คืออ่านแทบไม่ทันและถ้าจะอ่านให้ทัน ก็ไม่ต้องดูหนังกันเลย
|
ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นแค่บางส่วนของปัญหาด้าน legibility ซึ่งผมไม่ใช่นักวิชาการ จึงไม่เคยสระสมข้อมูลเหล่านี้ ถ้าใครมีประสบการณ์ด้านตัวอักษรที่ทำให้อ่านยาก ก็ลองส่งข้อความหรือบทความ เพื่อผมจะได้ปรับปรุงบทความให้ดียิ่งขึ้นได้
|