AV Comm Thailand

 

   
  โสตทัศน์เพื่อการศึกษา หมดยุคแล้วหรือ  

 


 

          เมื่อ 40 ปีก่อน เริ่มมีการสอนโสตทัศนศึกษา ในระดับปริญญาโท ต่อมาชื่อนี้ได้เปลี่ยนมาเป็นเทคโนโลยีการศึกษา แรกๆหลักสูตรยังคงเหมือนเดิม แต่ปัจจุบันทุกสถาบันการศึกษาได้ทิ้งวิชาโสต ทัศนศึกษาแล้วหันไปทางเทคโนโลยีอื่นแทน
เมื่อได้มีโอกาสคุยกับนักวิชาการท่านหนึ่ง ท่านบอกว่าทั่วโลกเลิกใช้โปรเจคเตอร์ไปนานหลายๆปีแล้ว มีแต่ประเทศไทยและจีนเท่านั้นที่ยังหลงทางใช้กันอยู่
ในงานโสต/เทคโนสัมพันธ์ซึ่งเป็นงานสังสรรค์และให้ความรู้ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอก วิชาเทคโนโลยีการศึกษาทั่วประเทศ อาจารย์ท่านหนึ่งเอ่ยว่า ดีใจที่เห็นมีร้านจำหน่ายโสตทัศนูปกรณ์มาร่วมโชว์สินค้าด้วย ทำให้ลำรึกถึงถึงปีเก่าๆ
                     ฟังจากนักวิชาการท่มานนี้พูด แล้วโสตทัศน์เพื่อการศึกษาคงจะหายไปจากโลกนานแล้ว แต่เป็นไป ไม่ได้ ตรงกันข้ามกับโสตทัศน์เพื่อการศึกษาทั่วโลกยังคงเฟื่องฟู
                      ยกตัวอย่างผมอ่านนิตยสารรวมทั้งแมกกาซีนออนไลน์จากประเทศสหรัฐอเมริกาและราช อาณาจักรอังกฤษ ประเทศละหลายฉบับ งานนิทรรศการอย่าง InfoComm International ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ISE ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ซึ่ง เป็นงานนิทรรศการด้านโสตทัศน์ที่ใหญ่ ในสองซีกโลก มีผู้ออกงานเพิ่มขึ้นทุกปีรวมทั้งผู้ที่มาชมงานมากขึ้นเช่นกัน 
ขอให้สังเกตุคำว่าโสตทัศน์ที่ แปลว่าภาพและเสียงนั้น หมายถึงตัวสื่อที่เป็นภาพและเสียง ส่วนโปรเจคเตอร์และเครื่องเสียงถือเป็นเครื่องมือ (Tool) การผลิตสื่อก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของโสตทัศน์ และต้องไม่ลืมว่ายังรวมถึงเทคนิคในการนำเสนอด้วย
              เจ้าหน้าที่โสตทัศน์ใน ต่างประเทศไม่ค่อยทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องมือ เช่น สถาบันการศึกษาหากต้องการจะบริการสื่อให้ทั่วสถาบัน อาจารย์โสตฯจะไม่ใช่ผู้ที่วางระบบหรือคัดเลือกอุปกรณ์ แต่จะเป็นผู้กำหนดขอบเขตความต้องการในการเก็บและแจกจ่ายสื่อการสอนทั้งสด และจากเซอเวอร์ ฯลฯ จากนั้นเจ้าหน้าที่สื่อจะให้ พวก Pro AV เป็นผู้เสนอระบบ ว่าตรงตามความต้องการ ความคล่องตัวที่จะพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงในอนาคตมากน้อยแค่ไหน ความยากง่ายในการบริการสื่อและงบประมาณ หรืออย่างเจ้าหน้าที่โสตที่มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาแห่งหนึ่ง รับมอบหมายให้ปรับปรุงหอประชุมให้ทันสมัย แต่ต้องมีรายได้เข้ามาเพื่อคุ้มกับ การลงทุนและต้องเสริมภาพลักษณ์ให้กับสถาบัน
              บทความนี้ไม่ประสงค์ที่ จะโต้ตอบกับนักวิชาการ เพียงแต่อยากให้ทุกฝ่าย พอจะเห็นว่าโสตทัศน์นั้นยังไม่ได้หายไปไหน ไมได้ประสงค์จะให้วิชาเทคโนโลยีการศึกษากลับมาสอนวิชาโสตทัศน์ เพราะคำว่าเทคโนโลยีการศึกษามีความหมายที่ใหญ่มากและมีหลายเทคโนโลยีให้เลือกนำมาใช้
             มีเรื่องน่าสังเกตุว่า ที่ประเทศอังกฤษมีการสอบการใช้โสตทัศนูปกรณ์ และผลิตสื่อในระดับอนุปริญญาเพราะเขาถือว่าเป็นการผลิตบุคลากรในระดับปฏิบัติ ไม่ใช่นักวิชาการ
             ผู้เขียนเองได้รับการ ทาบทามให้เขียนหลักสูตรวิชานี้ให้กับวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่งใกล้ๆ กรุงเทพฯ อีกทั้งผู้เขียนยังสามารถเดินทางได้โดยรถไฟ ก็คงมีการเจรจากันในเร็วๆนี้

              จุดประสงค์ที่จะเปิดสอนวิชานี้ไม่ได้ต้องการมาแทนที่อาจารย์โสตฯแต่จะทำหน้าที่เหมือน Lab Boy คือดูแลเครื่องมือโสตฯเพราะเท่าที่ประสพมาเครื่องมือ โสตฯด้านโรงแรมและห้องประชุมหลายๆแห่งที่ใช้อุปกรณ์แพงๆต้องเสียหายจากผู้ดูแลที่รู้ไม่จริง
 

 

ลงเมื่อ : 12-2-2010


บทความอื่นๆ