AV Comm Thailand

นิตยสารออนไลน์ด้านภาพ และเสียง

ใช้สำหรับห้องเรียน สำนักงาน ห้อง/หอประชุม



เพลทปลั๊กสัญญาณติดผนัง 4th Link

ประสิทธิภาพ

ความปราณีต

ง่ายต่อการใช้งาน

คุ้มราคา

★★★★★
★★★★★
★★★★
★★★★

ราคาสำหรับรุ่น FML19-45  : 58,500.00 บาท

ติดต่อผู้ขายคลิกที่นี้

 

ลิฟยกจอมอนิเตอร์ 4th Linkรุ่น FML-19-45
 
 

         ผมได้ข่าวว่าหน่วยงานราชการแห่งหนึ่งจะติดตั้งลิฟยกจอมอนิเตอร์ ที่สามารถพลิกจอฯให้เอนหลังได้ถึง 60 องศา ด้วยเหตุผลที่เขาจะใช้จอมอนิเตอร์ขนาดเส้นทะแยงมุม 22 นิ้ว ซึ่งถือว่าใหญ่ แล้วเขาเกรงว่าจอฯจะบังหน้าผู้ร่วมประชุม หากสามารถเอนจอฯไปข้างหลังได้มากเท่าไหร่ ระดับความสูงของจอฯก็จะลดลงมากขึ้นเท่านั้น ขณะที่ลิฟยกจอมอนิเตอร์ทั่วๆไป ที่ผลิตในประเทศไทย ไม่สามารถจะเอนจอฯไปข้างหลังได้ แต่หากเป็นลิฟฯที่นำเข้าจากต่างประเทศ จะสามารถเอนจอฯไปด้านหลังได้เพียง 5 องศาเท่านั้น รวมทั้งรุ่นที่บอกว่าสามารถเอนจอฯไปด้านหลังได้ถึง 15 องศา แต่เมื่อผมเข้าไปดูด้วยสายตา ก็น่าจะเอนหลังได้เพียง 5 องศา ซึ่งพอๆกันกับรุ่นที่บอกว่าสามารถเอนจอฯไปด้านหลังได้เพียง 5 องศา

          มีลิฟยกจอมอนิเตอร์ยี่ห้อหนึ่งที่จำหน่ายในประเทศไทย ที่สามารถเอนจอฯไปด้านหลังได้ถึง 45 องศา แต่ผู้ติดตั้งยังอยากจะใช้จอฯขนาดเส้นทะแยงมุม 22” ให้สามารถเอนหลังได้มากกว่านั้น ดังนั้นเขาจึงสั่งทำพิเศษให้จอฯสามารถเอนหลังให้ถึง 60 องศา ทำให้ผมอยากที่จะรีวิวสินค้าตัวนี้

          ผมขอทำความเข้าใจกับผู้อ่านก่อนว่า ลิฟยกจอฯรุ่นแรกๆที่ผมได้เคยเห็น มีขนาดเส้นทะแยงมุมเพียง 15” เท่านั้นซึ่งตอนนั้นจอมอนิเตอร์ยังมีอัตราส่วน คือกว้าง 4 ส่วน สูง 3 ส่วน (เรียกสั้นๆว่า 4:3) พอความนิยมจอฯที่มีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นเป็น 17”19”22” ขนาดของลิฟฯก็ต้องใหญ่ตามไปด้วย แต่ปัจจุบันเรานิยมจอที่เรียกว่าจอฯกว้าง ที่มีอัตราส่วน 16:10 (ถ้าเป็น TV ในปัจจุบัน อัตราส่วนคือ 16:9 ส่วนสาเหตุของความแตกต่างระหว่าง 16:9 กับ 16:10 ผมอยากที่จะแยกเขียนเป็นบทความด้านความรู้ออกต่างหาก เพราะเคยพบบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่ผู้เขียนให้เหตุผลที่ฟังแล้วไม่สมเหตุสมผล) ดังนั้นขนาดของลิฟฯที่บอกนั้น ยังคงหมายถึงจอฯ ที่มีอัตราส่วน 4:3

          ที่ผมต้องเน้นเรื่องอัตราส่วนของจอฯ ก็เพราะจอฯที่มีอัตราส่วน 16:10 มีเส้นทแยงมุมที่เมื่อเทียบกับจอฯที่มีอัตราส่วน 4:3 ก็จะพบว่าจอฯที่มีอัตราส่วน 16:10 นั้น ขนาดความกว้างของจอฯจะกว้างมากกว่าจอฯที่มีอัตราส่วน 4:3 ดังนั้นเวลาไปซื้อลิฟยกจอฯ อย่าดูแค่ขนาดของเส้นทะแยงมุมเพียงอย่างเดียว  แต่ให้วัดความกว้างของจอฯ ที่รวมทั้งขอบจอฯเข้าไปด้วย ว่าจอฯนั้นแคบพอที่จะลอดผ่านช่องลิฟได้หรือเปล่า ดังนั้นขนาดความกว้างของช่องลิฟฯ จึงมีความสำคัญกว่าขนาดเส้นทแยงมุมของจอฯ

          ลิฟยกจอมอนิเตอร์ที่ผมจะทำการรีวิวเป็นขนาดเส้นทะแยงมุม 19 นิ้ว (อัตราส่วน 4:3) ซึ่งเป็นรุ่นที่สามารถเอนจอฯไปด้านหลังได้ 45 องศา แต่ตัวที่ผมจะทำการรีวิวนี้ ถูกปรับจากโรงงานให้สามารถเอนจอฯไปด้านหลังได้ 60 องศา

เมื่อแกะลิฟฯออกจากหีบแล้ว ผมก็มองสำรวจรูปร่างของลิฟฯเป็นอันดับแรก หน้าปัดของลิฟฯนี้ทำด้วยอลูมิเนียมหนา 5 ม.ม. ผิวขัดเป็นลายขนแมว ชุบดำ (ความจริงเขาก็ยังมีให้เลือกที่เป็นสีขาวอลูมิเนียมด้วยเหมือนกัน) หน้าปัดมีขนาด 57x19 ซม. และช่องลิฟฯมีขนาด 50.5x10 ซม. แต่ด้วยสาเหตุที่ลิฟฯตัวนี้มีช่องลิฟที่กว้าง ก็เนื่องจากแผงที่ใช้ยึดจอฯได้ติดตั้งระบบกลไล สำหรับปรับจอฯให้เอนได้มาก จึงต้องขยายขนาดของช่องลิฟฯให้กว้างขึ้นตามไปด้วย เมื่อเทียบกับลิฟฯที่เอนจอฯได้เพียง 5 องศา

ด้านขวามือของหน้าปัดมีสวิชควบคุมจอให้ยก ขึ้น-ลง หยุด ปรับจอฯให้เอนหน้า เอนหลัง แต่สวิชนี้เขาติดตั้งในแนวตั้ง ทำให้ผมรู้สึกขัดๆสายตาบ้าง แต่หากเวลาใช้งานจริงๆ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาในการใช้งาน ขณะที่รุ่น 22” สวิชนี้จะยังคงติดตั้งในแนวนอน สวิชนี้น่าจะทำด้วยแผ่นปริ้นบางๆใสๆ และบิดงอได้ (Flexible print board)

สำหรับสวิชขึ้น-ลงและหยุด จะเป็นสวิชชนิดแตะแล้วจาก (Pulse) คือถ้าเรากดสวิชให้จอฯยกขึ้นหรือลง หรือหยุด แล้วปล่อยนิ้วมือทันที แล้วหรือจะกดแช่ก็ตาม สวิชจะแตะแล้วจากทันที แผงยึดจอฯก็จะเลื่อนขึ้นต่อไปเรื่อยๆจนขึ้นสูงสุด หรือต่ำสุดแล้วจึงหยุดเอง ไม่ใช่ต้องกดสวิชค้างไว้ ซึ่งก็รวมทั้งสวิชหยุด ส่วนสวิชปรับจอฯให้เอนหน้า และเอนหลัง เป็นสวิชแช่ คือจอฯจะเอนลงไปเรื่อยๆตราบที่เรายังกดแช่ไว้ หากเรายกนิ้วออก การทำงานก็จะหยุดทันที จากการทดลองใช้สวิช ทุกอย่างทำงานราบรื่นไม่ขลุกขลัก

          สำหรับตัวถังนั้นมีขนาดเล็กกว่าหน้าปัดด้านละประมาณ 2-2.5 ซม. สาเหตุที่หน้าปัดต้องใหญ่กว่าตัวถัง ก็เพื่อใช้เป็นปีกพยุงตัวลิฟฯให้ห้อยติดกับพื้นหน้าโต๊ะประชุม ซึ่งก็เหมือนกับลิฟฯยี่ห้ออื่นๆ รอบๆตัวถังมีรูระบายความร้อน ตัวถังทั้ง 4 ด้านเรียบ ไม่มีการพับหรือปั้มให้นูนหรือเว้า เพื่อช่วยเสริมความแข็งแกร่ง แต่ตัวถังนี้ก็ยังดูแข็งแรงดี

          เมื่อแกะตัวลิฟฯออกจากหีบ ฝาปิดช่องลิฟอยู่ในตำแหน่งเปิดเต็มที่ ซึ่งดูจะเป็นมาตรฐานขณะเคลื่อนย้าย ขณะที่ลิฟฯยี่ห้ออื่นๆ จะมีการล็อคตำแหน่งแผงยึดจอฯให้อยู่กับที่ด้วยสกรู 1 ตัวบ้าง 2 ตัวบ้าง ผมจึงมองหาสกรูนี้ที่ลิฟ FML4519 แต่หาไม่พบ ซึ่งหากมีสกรูล็อกที่ว่านี้ แล้วผมไม่ถอดสกรูนี้ออกก่อน เมื่อมีการขับเคลื่อนมอเตอร์ อาจเกิดปัญหาอะไรบางอย่างก็ได้ แต่เมื่อหาไม่พบ ผมก็ตรวจดูส่วนอื่นๆต่อไป

          ผมตรวจดูตำแหน่งปลั๊กต่างๆ ก็พบว่าตำแหน่งปลั๊กต่างๆนั้น อยู่ด้านล่างขวามือ ด้านที่หันเข้าหาผู้ที่นั่งประชุม แต่ก่อนตำแหน่งปลั๊กเหล่านี้เคยอยู่ที่ตำแหน่งนี้ แต่ต่อมาคงมีใครเห็นว่าหากย้ายไปอยู่อีกด้านหนึ่ง ก็จะไม่มีสายไฟฟ้า และสายสัญญาณต่างๆออกมาห้อยเกะกะ แต่พอเขาปรับตำแหน่งปลั๊กให้ไปอยู่อีกฝั่งแล้ว ก็เจอว่าช่างเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่รอบครอบ หรือยังไม่มีประสบการณ์พอ อาจจะติดตั้งลิฟฯให้ชิดขอบโต๊ะมากไป จนทำให้ไม่สามารถจะเสียบสายไฟฟ้า และสายสัญญาณต่างๆเหล่านี้เข้ากับตัวลิฟฯได้ บางครั้งก็สามารถแก้ไขด้วยการทำให้แผ่นบังเท้าให้สามารถถอดออกได้ หรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนแผ่นกระดานหน้าโต๊ะใหม่ และในภายหลังหากต้องเปลี่ยนสายไฟฟ้า หรือสายสัญญาณใหม่ ก็ต้องแก้ไขโต๊ะประชุมกันใหม่หมด น่าหงุดหงิดกับปัญหาเดิมๆ ดังนั้นการที่ปลั๊กไฟฟ้า ปลั๊กสัญญาณของลิฟฯตัวที่ผมทำการรีวิวอยู่นี้ กลับมาอยู่ด้านผู้นั่งประชุม ก็ถือว่าก็ดีเหมือนกัน แต่ดีกันคนละอย่าง

          กลุ่มปลั๊กที่ผมพูดนั้น มีปลั๊กไฟฟ้า ปลั๊กควบคุม RS232/485 (RS232 เป็นสัญญาณ Serial และ RS485 นั้นมีคนบอกว่าสามารถทำงานในระยะทางที่ไกลกว่า RS232 หากปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันไปใช้ USB แทน ซึ่ง USB ก็ย่อมาจาก Universal Serial Bus )

ปลั๊ก RS232/485 นี้มีไว้สหรับการสั่งงานจากชุดควบคุม เช่น ยี่ห้อ AMX และ Crestron เพื่อสั่งงานอัตโนมัติ  ส่วนที่ควรเป็นปลั๊ก VGA นั้นผู้นำเข้าต้องการให้เป็นปลั๊ก HDMI ดังนั้นทางโรงงานจึงแก้ปัญหาด้วยการร้อยสาย HDMI ผ่านช่องยึดปลั๊ก VGA เดิม เพื่อให้สาย HDMI ทะลุออกมาดื้อๆ ซึ่งก็ดูไม่ดี เผอิญส่วนนี้อยู่ใต้โต๊ะประชุม จึงไม่ถึงกับน่าเกลียดนัก แต่ก็ยังดีกว่าอีกยี่ห้อหนึ่งที่เขาเจาะรูด้านก้นของตู้ลิฟฯ แล้วร้อยสาย HDMI ทะลุลงข้างล่าง ทำให้เวลาวางลิฟลงบนพื้นขณะติดตั้ง น้ำหนักของตัวลิฟอาจทำให้สาย HDMI ชำรุดได้ และสาย HDMI ที่ใช้กับลิฟฯตัวที่ผมกำลังทำการรีวิวนั้น มีหัวต่อเป็น ผู้/ผู้

(คือปลั๊กตัวผู้ทั้ง 2 ด้านของสาย HDMI) แทนที่จะเป็น ผู้/เมีย ดังนั้นเวลาต่อสายใช้งานจริงๆ จึงต้องไปซื้ออแดปเตอร์ HDMI เมีย/เมีย มาแก้ปัญหา ก็น่าตำหนิบ้าง

          หลังจากนั้นผมก็ถอดสกรูยึดฝาตู้ด้านข้างออก เพื่อที่จะได้เห็นการทำงานของลิฟฯ ปรากฏว่าผมสามารถถอดสกรูตัวเล็กๆราวๆ 10 ตัวได้อย่างง่ายดาย  และการขันสกรูกลับก็ง่ายดายเช่นกัน ซึ่งต่างจากลิฟยกจอมอนิเตอร์รุ่นแรกๆของจีน ที่เวลาถอดสกรูออกนั้นลำบากมากๆ และยิ่งคนถอดควรมีประสบการณ์ ส่วนการขันสกรูคืนนั้นยิ่งยากกว่า หรือทำไม่ได้เลย ทำให้ไม่สามารถซ่อมลิฟฯรุ่นเก่าๆได้

          สิ่งแรกที่ผมมองหาภายในคือ ระบบขับเคลื่อน ซึ่งแรกๆทางโรงงานบอกว่าไม่ได้ใช้สายพานยาง แต่พูดคล้ายๆกับใช้ “เฟืองราง” (rack and pinion) แต่พอผมเห็นของจริง กลับเป็นสายพานยาง แบบเดียวกับสายพานในรถยนต์ เพียงแต่ไม่มีผ้าใบเสริมไม่ให้ยืดเกินไป อย่างไรก็ตามสายพานยางนี้ มีฟันเฟืองที่จะช่วยไม่ทำให้เกิดการลื่นไถล

          สำหรับระบบขับเคลื่อนลิฟยกจอมอนิเตอร์รุ่นแรกๆ ที่ผมได้เคยเห็นทั้งที่ผลิตในประเทศเยอรมนี (ประเทศต้องเรียกว่า ประเทศเยอรมนี ส่วนประชาชนต้องเรียกว่า คนเยอรมัน ที่ผมต้องบอกก็เพราะ ได้ยินผู้ประกาศข่าวทางโทรทัศน์ชอบบอกว่า ประเทศเยอรมัน ซึ่งผิด) ประเทศเกาหลีและประเทศจีน ต่างก็ใช้ระบบ “เกลียวหมู” (มีคนบอกว่าให้เรียกอย่างนี้ ถูกผิดอย่างไรผมไม่ทราบ) ในรุ่นก่อนๆการทำงานของเกลียวหมูคือ หากเรามีสกรูยาวๆ พร้อมน็อต (nut) แล้วเราบังคับไม่ให้น็อตหมุน ขณะที่เราหมุนสกรูยาว ตัวน็อตที่ถูกบังคับไม่ให้หมุนตาม ก็จะเคลื่อนสูงขึ้นหรือต่ำลง แต่แทนที่จะเป็นน็อตขึ้นลง แต่แทนที่จะเป็นน็อต ก็ให้เปลี่ยนเป็นเป็นชุดยึดจอฯแทน ทำให้จอฯเลื่อนขึ้น-ลง ข้อเสียของระบบนี้คือเสียงค่อนข้างดัง และไม่ค่อยจะมีเสถียรภาพ

          ต่อมาลิฟยกจอฯจึงมีการใช้วิธีส่งกำลังผ่านทางสายพาน ซึ่งเสียงก็เงียบมากๆ และผมก็เห็นมีการใช้โซ่แบบโซ่รถจักรยาน แต่มีขนาดเล็กกว่า 2 เส้น 2 ฝั่ง ซึ่งระบบนี้ก็เงียบมากเหมือนกัน

          ต่อมาผมจึงเอาจอมอนิเตอร์เก่าๆมาติดตั้ง ซึ่งตำแหน่งรูยึดของทั้งฝั่งลิฟฯและฝั่งจอฯ ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใดรุ่นใด ต่างก็ใช้มาตรฐาน VESA (Video Electronics Standard Association) จึงไม่มีปัญหาว่ารู้สกรูจะไม่ตรงกัน ที่จะยึดจอฯเข้ากับแผงยึดจอฯ แต่การที่จะสอดสกรูเข้ายึดจอฯกับลิฟฯ FML4519 นั้น ทำไม่ได้ เพราะระบบการเอนจอฯมีแผ่นเหล็กขนาดเท่าๆชุดเอนจอฯบังการสอดสกรูและไขควง โดยเขาไม่ได้เจาะรูให้สามารถสอดทั้งสกรูทั้งไขควงผ่านได้ จึงจำเป็นต้องปรับให้ระบบเอนจอฯนี้ ให้อยู่ในตำแหน่งเอนมากๆหน่อย ถึงจะสามรถสอดสกรู และสอดไขควงได้

          เมื่อกดปุ่มให้ลิฟยกขึ้น สิ่งแรกเลยก็คือฝาปิดช่องลิฟจะค่อยๆหดลงภายในตัวถัง เสร็จแล้วแผงยึดจอฯก็จะค่อยๆยกขึ้น เมื่อยกขึ้นสุดแล้ว ด้านล่างของแผงยึดจอฯ จะมีแผ่นโลหะเท่ากับช่องลิฟฯ ทำหน้าที่ปิดช่องลิฟในระนาบเดียวกับหน้าปัดลิฟ ทำให้ไม่เห็น ช่องลิฟฯเปิดเป็นช่องโบ๋ๆ หลังจากนั้นชุดเอนจอจึงเริ่มทำงาน หากผู้ร่วมประชุมอยากให้จอฯเอนในตำแหน่งที่ตนเองชอบ ก็ให้กดปุ่มที่สั่งจอนให้เอน โดยให้กดปุ่มสวิชนี้แช่ไว้จนกว่าจอฯจะอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ แล้วจึงให้ยกนิ้วออกจากสวิช จอฯถึงจะหยุดเอน

          โปรดสังเกตว่า ลิฟฯยกจอฯรุ่นเดิมๆ ที่สามารถเอนจอฯไปด้านหลังได้เพียง 5 องศานั้น จุดหมุนจะอยู่ที่โคนแผงยึดจอฯ ส่วนลิฟฯที่สามารถเอนจอฯไปด้านหลังได้ถึง 45 องศา จะมีระบบกลไกลพลิกจอฯ ซึ่งติดอยู่ที่ปลายแผงยึดจอฯ ดังนั้นตำแหน่งพลิกจอฯ (pivoting point) จะอยู่ที่ปลายแผงยึดจอฯ หรือประมาณกลางจอฯ ไม่ใช่ที่โคนแผงยึดจอฯอย่างชนิดที่เอนได้ 5 องศา
ในการรีวิว ผมได้เอาจอมอนิเตอร์เก่าๆที่มีอยู่ มาลองติดตั้ง ปรากฏว่าตัวจอฯหนามากไปประมาณ 2 ม.ม. อาจเป็นไปได้ว่า ส่วนให้แสงสว่างของจอฯนั้นใช้หลอด

Cold Cathode Fluorescent ที่ทำให้ตัวถังของจอฯหนากว่าจอฯรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้ LED เป็นตัวให้แสงสว่าง ผมเลยต้องถอดจอฯนี้ออก เป็นไปได้ว่าโรงงานผู้ผลิตลิฟฯนี้ พยายามทำให้ตัวถังลิฟฯให้บางมากที่สุด ตามความนิยมของตลาดเลยทำให้ช่องลิฟฯแคบไปสำหรับจอฯรุ่นเก่าๆ ตามความนิยม ดังนั้นถ้าจะซื้อลิฟฯชนิดนี้มาใช้ ก็น่าจะซื้อจอฯใหม่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาด้านจอฯหนาไป


ระบบเฟืองราง (rack and pinion) ที่ใช้ขับเคลื่อนจอฯให้เอนไปด้านหลัง 45


เกลียวหมูที่อยู่ตรงกลางลิฟ เมื่อหมุนจะใช้ยกจอฯ ขึ้น-ลง

          สำหรับระบบเอนจอฯได้ถึง 45 องศานั้น ผมพบว่าเขาใช้ระบบเฟืองราง (rack and pinion) เป็นกลไลขับเคลื่อน ซึ่งผมว่าก็ดี แม้เสียงการทำงานจะดังกว่าเสียงการทำงานของลิฟฯยกให้จอฯขึ้น-ลงไปบ้าง

          ข้อมูลอื่นๆ ที่ผมไม่ได้ทดลองคือจอฯ จะเปิดเมื่อยกจอฯขึ้นสูงสุดแล้ว และจะปิดก่อนที่แผงยกจอฯจะเริ่มลดระดับลง แต่สำหรับการสั่งงานระยะไกล ตามสายสัญญาณ RS232 และ RS485 นั้นผมไม่มีระบบสั่งงานนี้ที่จะทดลอง

          ยังมีอีกข้อที่อาจถือว่าเป็นเรื่องเล็กๆก็ได้ คือลิฟยกจอมอนิเตอร์หลายยี่ห้อ ที่สามารถเปิดฝาเล็กๆข้างตู้ลิฟฯ เพื่อให้แผงควบคุมสามารถอ่านรีโมทไร้สาย ในกรณีที่รีโมทหาย แล้วต้องปรับปผงควบคุมให้สามารถอ่านสัญญาณจากรีโมทไร้สายตัวใหม่ได้ แต่ลิฟฯที่ผมทำการรีวิวนี้ไม่มีชิ่งดังกล่าว ดังนั้นหากต้องการให้แผงควบคุมรู้สัญญาณจากจักรีโมทตัวใหม่ ต้องเปิดฝาด้านข้างทั้งแผงใหม่ ทำให้กลายเป็นงานใหญ่ขึ้นมา

          ลิฟฯนี้มาพร้อมรีโมทไร้สายที่ทำงานด้วยคลื่นวิทยุ แต่มีแค่ 3 ปุ่ม คือ ขึ้น ลง และหยุดเท่านั้น และระยะการทำงานก็อยู่ในช่วง 10 ม.

          โดยรวมๆ ผมว่าลิฟ 4th LIFT FLM4519 นี้ไม่ได้ดีเด่นไปกว่ายี่ห้ออื่นที่ผมเคยเห็น คือชิ้นส่วนต่างๆเรียบร้อยดี ประณีต การทำงานก็ไหลลื่นไม่มีขัด และเสียงการทำงานก็เงียบ เมือเทียบคุณภาพของลิฟฯกับยี่ห้ออื่นที่ผมได้เคยเห็น ก็ไม่ต่างกัน เหมือนกับรถยนต์ Toyota Honda Nissan Mazda ที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน

แต่ลิฟฯรุ่นนี้สามารถเอนจอฯได้ถึง 45 องศา (แต่ตัวที่ผมทดลองนี้เอนได้ถึง 60 องศา) ที่ไม่มีใครขายในประเทศไทย นอกจากลิฟฯรุ่นนี้

          ในด้านราคานั้น ผมว่าราคาควรจะถูกกว่าราคาที่เขาแจ้งไว้ ซึ่งผู้ขายบอกว่าความจริงแล้ว เขาเอากำไรต่ำกว่ารุ่นที่สามารถเอนจอฯได้เพียง 5 องศา ทั้งนี้เพราะเขาต้องการจะดึงดูดลูกค้าให้หันมานิยมลิฟฯรุ่นนี้ เพราะผู้ค้ารายอื่นในประเทศไทย ไม่ได้นำรุ่นแบบนี้เข้ามาจำหน่าย อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่าเขายินดีที่จะลดราคาลงได้อีก และยิ่งซื้อจำนวนมากเท่าไหร่ ก็จะได้ส่วนลดมากตามไปด้วย

 

 

 

 

 

 

ลงเมื่อวันที่ 30-10-2018


 

 

555 เดะพาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ชั้น 4 ห้อง IT4-32/2
ถนนราชปรารภ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ติดต่อโทร. 097 -230-7619